วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

โทรทัศน์ครู

โทรทัศน์ครู

ตอน สนุกวิทย์คิดทอลอง (ครูสง่า)








            การนำเข้าสู่บทเรียน  ซึ่งในกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสาตร์ เรียกว่า  การสร้างแรงจูงใจ  ซึ่งจะท้ำนักเรียนรู้สึกว่าวันนี้ยนอะไร ก็เป็นจุดที่สามารถทำให้นักเรียนนั้นสนใจได้  เช่นในเรื่องนี้ครูนำเรื่อง เรือประดาน้ำ มาให้นักเรียนดู และก็สาธิตให้เด็กๆดู นักเรียนก็เกิดความสงสัยว่า ว่าทำไมมันลอยได้ และจมได้
            
            การนำเข้าสู่บทเรียนนี้ ทำให้ห้องเรยนนั้นมีชีวิตชีวา ครูมีตัวอย่างที่จะสาธิต ทำให้นักเรียนนั้นมีความสนใจพุ่งไปที่ครู  ทำให้นักเรียนนั้นอยากจะเรียนได้
           
             "การจม การลอย ของวัตถุ เกี่ยวข้องกับมวล ถ้ามวลมาก ความหนาแน่นก็จะมาก"
            
              ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์นั้นเป็นเรื่องที่สนุก เด็กก็จะต้องเรียนรู้ควบคู่ไปกับความสนุกสนาน เพราะว่า ถ้าหากเด็กเรียนไม่สนุกแล้วเขาก็จะไม่อยากเรียน แต่ถ้าเรียนแล้วสนุก ครูมีเกมส์ มีเทคนิคในการสอน มีวิธีการมาท้าทายให้เกิด "ความอยากทำ"
            
             ก็จะเกิดคำพูดที่ว่า เอ๊ะ อ๊ะ อ๋อ ทำไมเป็นอย่างนั้นล่ะ ....!
           
             การที่ครูตั้งคำถามเพื่อท้าทายให้นักเรียนได้คิดเป็นสิ่งที่ดี เป็นวิธีการหนึ่งที่จะใช้ในการเรียนการสอน  เพราะ  เด็กทุกคนชอบความท้าทาย เมื่อมีคำถามถามเด็กไป เด็กก็จะต้องระดมความคิดที่จะแลกเปลี่ยนความคิดกันเป็นกลุ่ม ว่าอ๋อ ทำไมจึ้งเป็นเช่น นี้นะ เด็กก็จะมีการวางแผน และเกิดการทดลอง เกิดขึ้น จากนั้นก็จะมีการวิเคราะห์เพื่อพิสูจน์หาคำตอบที่แน่ชัดอีกครั้งนึงโดยนำคำตอบทั้งหมดมาทดลอง และสังเกตพร้อมๆกัน
            
             ในการเรียนการสอนวิทยาศสาตร์ในการทดลองมีความหมายอย่างยิ่งเพราะว่าการทดลองจะทำให้นักเรียนเข้าใจหรือได้ข้อมูลในสิ่งที่เขาสงสัย เพราะฉะนั้น ในการทดลองนึงก็เป็นการรวบรวมข้อมูลในสิ่งที่เขาต้องการหาคำตอบ หรือ สมมุติฐาน นั้นเอง

            
             การทดลองแล้วล้มเหลว ไม่ใช่การผิดพลาดของการเรียนรู้ หรือผิดพลาดทางการทดลองหรือไม่ใช่ความผิดพลาดของนักเรียน เมื่อทำการทดลองแล้วล้มแล้ว ก็ต้องกลับไปหาสาเหตุว่า ความล้มเหลวนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร นักวิทยาศาสาตร์จรึงทดลองซ้ำๆเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และได้รับการเรียนรู้เพิ่มเติม


วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

วิจัย


สรุปวิจัย

งานวิจัยระดับปฐมวัย เรื่อง
ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
ปริญญานิพนธ์
ของ
ศศิพรรณ สำแดงเดช
        

             ความมุ่งหมายของการวิจัย
            1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อนและหลังการทดลอง
            2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อนและหลังการทด
            ประชากรตัวอย่าง
            กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเด็กชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลัง
ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล)
สำนักงานเขตจอมทอง สังกัดกรุงเทพมหานครจำนวน 5 ห้องเรียน จำนวน 175 คน
            กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
            กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล) สำนักงานเขตจอมทอง สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน โดยผู้วิจัยทำการทดสอบเด็กด้วย แบบทดสอบทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เพื่อคัดเลือกเด็กปฐมวัยจำนวน 15 คน ที่มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 15 อันดับสุดท้าย กำหนดเป็นกลุ่มทดลอง
                ระยะเวลา
            8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที ในช่วงเวลา 8.30 - 9.00 น. ของวันจันทร์วันอังคาร และพุธ
            การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
            วิธีการดำเนินการทดลอง
            การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ทำการทดลองเป็นเวลา
8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที ทำการทดลองในช่วงเวลา 08.3009.00 น. รวม 24 ครั้ง มีลำดับขั้นตอนดังนี้
            1. ผู้วิจัยใช้คะแนนการทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยในขั้นตอนการเลือกตัวอย่างเป็น คะแนนก่อนการทดลอง
            2. ผู้วิจัยดำเนินการทดลองด้วยตนเองโดยทดลองสัปดาห์ละ 3 วันวันละ 30 นาที  ในช่วงเวลา 08.3009.00 น. ของวันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ จนสิ้นสุดการทดลอง โดยระหว่างที่ผู้วิจัยดำเนินการทดลองกับเด็กกลุ่มตัวอย่างเด็กที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างอยู่ในความดูแลของครูผู้ช่วยสอน
            3. เมื่อดำเนินการทดลองไปจนครบ 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังการทดลองกับเด็กกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ชุดเดียวกับก่อนการทดลอง
            4. นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
            สรุปผลการศึกษาค้นคว้า
            1 เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญที่ .01 และพบว่าทักษะด้านการสังเกต การจำแนก และการสื่อสารสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่ .01
            2 ก่อนการทดลองการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน โดยรวมและรายด้าน คือ ด้าน
การสังเกต ด้านการจำแนก และด้านการสื่อสาร อยู่ในระดับพอใช้ หลังการจัดกิจกรรมหลังการฟังนิทาน
โดยรวมอยู่ในระดับดีและรายด้านคือ ด้านการสังเกตอยู่ในระดับดีมาก ด้านการจำแนกและการสื่อสารอยู่
ในระดับดี
            ข้อเสนอแนะในการทำการวิจัย
            1. ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างผลการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังกับการจัดกิจกรรมในรูปแบบอื่นที่มีผลต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย เพื่อนำผลที่ได้มาเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย
            2. ควรมีการศึกษาในลักษณะเดียวกันกับการสร้างกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานสำหรับการพัฒนาทักษะพื้นฐานด้านอื่นๆ ให้กับเด็กปฐมวัย เช่น ทักษะทางภาษา การคิดเชิงเหตุผลการคิดแก้ปัญหา เป็นต้น
            3. ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบการสร้างนิทานแบบมีจุดประสงค์ โดยเด็กเป็นผู้แต่ง เพื่อศึกษาพัฒนาทักษะเชิงบูรณาการ เช่น ภาษาสังคมกับวิทยาศาสตร์ ภาษากับวิทยาศาสตร์ เป็นต้น


 


วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

เรียนครั้งที่ 15


บันทึกอนุทินครั้งที่ 15
 วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
 วันเสาร์ ที่ 28 พฤศจิกายน 2557
 กลุ่มเรียน 104 เวลา 13.10-16.40 น.

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
            เนื้อหา (The content) วันนี้อาจารย์ให้ออกแบบแผ่นพับสานสัมพันธ์บ้านกับโรงเรียน
หน่วยการเรียนรู้ เรื่องกล้วย
ผลงานแผ่นพับสานสัมพันธ์บ้านกับโรงเรียน  แต่ละกลุ่มก็แตกต่างกันไป

*** กลุ่มของดิฉันก็มีผลงานการประสานสัมพันธ์บ้านกับโรงเรียนอนุบาลหมูน้อยคือ หน่วยกล้วย

หน่วย กบ ของโรงเรียน แสงปัญญา

หน่วยกะหล่ำปลี ของโรงเรียนอนุบาลเป็ดน้อย

หน่วยผีเสื้อ ของโรงเรียน อนุบาลวากฝัน

หน่วยมะลิ

หน่วยส้ม ของโรงเรียนอนุบาลบ้านหญ้าคา

หน่วยแปรงสีฟัน ของโรงเรียนอนุบาลจันทร์เจ้า

หน่วยไก่ ของโรงเรียนอนุบาล เพชรปัญญา

***ต่อมาอาจารย์ก็ได้สรุปเนื้อหาและสอนเรื่องการใช้คำถามในรูปแบบต่าง ๆ
            
             คำถามให้สังเกต
1.ลักษณธของกบเป็นอย่างไร
2.ถ้าเราไม่รดน้ำดอกมะลำดอกมะลิจะเป็นอย่างไร
3.พื้นผิวของกะหล่ำปลีเป็นอย่างไร
            คำถามทบทวนความจำ
1.ไก่ที่เด็กๆรู้จักมีสีอะไรบ้าง
2.กล้วยที่เด็กๆรู้จักมีอะไรบ้าง
3.ในเนื้อเพลงที่ร้องมีส้มกี่ชนิด
            คำถามบอกความหมาย
1.บอกแนวคิด
2.บอกคำจำกัดความ
3.บอกนิยาม
            คำถามอธิบาย
1.ทำไมกะหล่ำปลีถึงมีผิวขรุขระ
2.ทำไมดอกมะลิถึงมีกลิ่นหอม
3.ทำไมแปรงสีฟันถึงมีขน
            คำถามเปรียบเทียบ
1.กบ กับ ไก่ สัตว์ชนิดไหนตัวใหญ่กว่ากัน
2.กะหล่ำปลีสีม่วง กับกะหล่ำปลีสีเขียวกะหล่ำปลีชนิดไหนมีรสหวานที่สุด
3.ดอกมะลิลากับดอกมะลิซ้อนดอกมะลิชนิดไหนมีขนาดเล็กที่สุด
            คำถามให้ยกตัวอย่าง
1.ไก่อาศัยอยู่ที่ไหน
2.ส้มที่เด็กๆชอบรับประทานที่สุดมีสีอะไร
3.กล้วยที่เด็กๆชอบรับมีกล้วยอะไรบ้าง



การนำไปประยุกต์ใช้
           สามารถนำความรู้ที่อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับการใช้คำถามถามเด็กปฐมวัย ว่าควรถามแบบไหน ถามยังไง แล้วถามห้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ยังไง โดยอาจารย์จะให้เทคนิคกลับมา
          
ประเมินผล
ตนเอง
          ตั้งใจทำกิจกรรมในวันนี้ได้ย่างดี สนุกในการเรียนวันนี้โดยช่วยระดมความคิดกับเพื่อน ๆในกลุ่มที่จะคิดแผ่นพับประสานสัมพันธ์บ้านกับโรงเรียน เพื่อที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการเชิญผู้ปกครองในอนาคตได้
 เพื่อน
            ร่วมกันเสนอความคิดต่างๆ ร่วมกันเป็นอย่างดี
อาจารย์
          อาจารย์ได้มีเทคนิดการสอนในเรื่องการใช้คำถามซึ่งช่วยให้เราใช้ในการเสาะแสวงหาความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังเป็นกลวิธีในการจัดการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี  เพื่อพัฒนาความคิดและการตีความหมายได้เป็นอย่างดี
            วันนี้ยังเป็นการเรียนการสอนวันสุดท้าย อาจารย์จึงบอกแนวข้อสอบแก่ทุกคนและบอกวิธีปฏิบัติตนเป็นบุคคลและให้เป็นครูที่ดีได้ในอนาคต