วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

โทรทัศน์ครู

โทรทัศน์ครู

ตอน สนุกวิทย์คิดทอลอง (ครูสง่า)








            การนำเข้าสู่บทเรียน  ซึ่งในกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสาตร์ เรียกว่า  การสร้างแรงจูงใจ  ซึ่งจะท้ำนักเรียนรู้สึกว่าวันนี้ยนอะไร ก็เป็นจุดที่สามารถทำให้นักเรียนนั้นสนใจได้  เช่นในเรื่องนี้ครูนำเรื่อง เรือประดาน้ำ มาให้นักเรียนดู และก็สาธิตให้เด็กๆดู นักเรียนก็เกิดความสงสัยว่า ว่าทำไมมันลอยได้ และจมได้
            
            การนำเข้าสู่บทเรียนนี้ ทำให้ห้องเรยนนั้นมีชีวิตชีวา ครูมีตัวอย่างที่จะสาธิต ทำให้นักเรียนนั้นมีความสนใจพุ่งไปที่ครู  ทำให้นักเรียนนั้นอยากจะเรียนได้
           
             "การจม การลอย ของวัตถุ เกี่ยวข้องกับมวล ถ้ามวลมาก ความหนาแน่นก็จะมาก"
            
              ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์นั้นเป็นเรื่องที่สนุก เด็กก็จะต้องเรียนรู้ควบคู่ไปกับความสนุกสนาน เพราะว่า ถ้าหากเด็กเรียนไม่สนุกแล้วเขาก็จะไม่อยากเรียน แต่ถ้าเรียนแล้วสนุก ครูมีเกมส์ มีเทคนิคในการสอน มีวิธีการมาท้าทายให้เกิด "ความอยากทำ"
            
             ก็จะเกิดคำพูดที่ว่า เอ๊ะ อ๊ะ อ๋อ ทำไมเป็นอย่างนั้นล่ะ ....!
           
             การที่ครูตั้งคำถามเพื่อท้าทายให้นักเรียนได้คิดเป็นสิ่งที่ดี เป็นวิธีการหนึ่งที่จะใช้ในการเรียนการสอน  เพราะ  เด็กทุกคนชอบความท้าทาย เมื่อมีคำถามถามเด็กไป เด็กก็จะต้องระดมความคิดที่จะแลกเปลี่ยนความคิดกันเป็นกลุ่ม ว่าอ๋อ ทำไมจึ้งเป็นเช่น นี้นะ เด็กก็จะมีการวางแผน และเกิดการทดลอง เกิดขึ้น จากนั้นก็จะมีการวิเคราะห์เพื่อพิสูจน์หาคำตอบที่แน่ชัดอีกครั้งนึงโดยนำคำตอบทั้งหมดมาทดลอง และสังเกตพร้อมๆกัน
            
             ในการเรียนการสอนวิทยาศสาตร์ในการทดลองมีความหมายอย่างยิ่งเพราะว่าการทดลองจะทำให้นักเรียนเข้าใจหรือได้ข้อมูลในสิ่งที่เขาสงสัย เพราะฉะนั้น ในการทดลองนึงก็เป็นการรวบรวมข้อมูลในสิ่งที่เขาต้องการหาคำตอบ หรือ สมมุติฐาน นั้นเอง

            
             การทดลองแล้วล้มเหลว ไม่ใช่การผิดพลาดของการเรียนรู้ หรือผิดพลาดทางการทดลองหรือไม่ใช่ความผิดพลาดของนักเรียน เมื่อทำการทดลองแล้วล้มแล้ว ก็ต้องกลับไปหาสาเหตุว่า ความล้มเหลวนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร นักวิทยาศาสาตร์จรึงทดลองซ้ำๆเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และได้รับการเรียนรู้เพิ่มเติม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น