วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557

เรียนครั้งที่ 5


บันทึกอนุทินครั้งที่ 5
 วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
 วันศุกร์ ที่ 19 กันยายน 2557
 กลุ่มเรียน 104 เวลา 13.10-16.40 น.


***ในวันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับทักษะต่างๆที่ใช้ในวิทยาศาสตร์
Science Process Skills
            1. ทักษะการสังเกตทักษะการสังเกต(Observation)
- การใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า
- สังเกตและสัมผัสลักษณะโดยตรงกับวัตถุ
- สังเกตเหตการต่างๆ
- สังเกตเพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงต่างๆ
- การสังเกตควบคู่ไปกับการคำนวณ
            2.ใช้ทักษะการจำแนกประเภท(Classifying)
- ความสามารถแบ่งประเภทสิ่งของโดยใช้เกณฑ์
- ความเหมือน
- ความแตกต่าง
- ความสัมพันธ์ร่วม
            3. ทักษะการวัด (Measurement)
- การใช้เครื่องมือต่างๆวัดปริมารของสิ่งที่เราต้องการทราบ  ได้อย่างถูกต้องโดยมีหน่วยการวัดกำกับ
- รู้จักกับสิ่งของที่เราจะวัด
- การเลือกเครื่องมือที่เหมาะสม
- วิธีการวัดแบบไม่เป็นทางการ  กึ่งทางการและทางการตามลำดับ
            4. ทักษะการสื่อความหมาย (Communication)
- การพูดการเขียนรูปภาพทางภาษาและท่าทาง
- บรรยายลักษณะคุณสมบัติของวัตถุได้
- บันทึกความเปลี่ยนแปลงของวัตถุได้
- บอกความสมัพนธ์ของวัตถุได้
- จัดทำข้อมูลในรูปแบบต่างๆ
            5. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring)
- การเพิ่มเติ่มความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่มีอยู่อย่างมีเหตุผล โดยอาศัยความรู้และประสบการณ์
- ลงข้อสรุปเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ
- ลงข้อสรุปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ
- การสังเกตเพื่อการเปลี่ยนแปลง
            6. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปทกับเวลา  (Space)
- การรู้จักมิติ การบอกทิศทาง รู้จักเงา
- ภาพ 1 มิติ 2 มิติ 3 มิติ
- บอกตำแหน่งและทิศทางของวัตถุ
- บอกความสัมพันธ์ระหว่างทิศทางกับวัตถุ
            7. ทักษะการคำนวน  (Caculation)
- การนับจำนวนของวัตถุ
- การบวก ลบ คูณ หาร
- การหาค่าต่างๆ
- การคำนวน

****ต่อมาอาจารย์ให้ประดิษฐ์สื่อที่ประกอบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งอาจารย์เตรียมอุปกรณ์มาให้

อุปกรณ์                  
                                         1.กระดาษA4
                                         2.ไม้เสียบลูกชิ้น
                                         3.สี
                                         4.กรรไกร
                                         5.กาว
ขั้นตอนการทำ                        
                                         1.แบ่งกระดาษ 1 แผ่นให้เป็น 4 ส่วน
                                         2.แบ่งกระดาษจากที่แบ่งเป็นส่วนๆให้เพื่อน
                                         3.วาดรูปที่สัมพันธ์กันในแต่ละด้าน
                                         4.นำไม้เสียบลูกชิ้นทากาวแล้วติดลงบนกระดาษให้แน่นจนหมุนไม้แล้วกระดาษไม่หลุดออก (รูปที่ดิฉันวาดคือรูป แจกัน กัน ดอกไม่ค่ะ)


สรุปกิจกรรมการประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์
             
             สิ่งประดิษฐ์ที่ดีสามารถสามารถใช้กับเด็กปฐมวัยได้ต้องไม่เป็นอันตรายต่อเด็กอุปกรณ์สามารถหาได้ตามธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อมรอบตัวแล้วนำมาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นการเรียนรู้ที่ไม่ใช้ค่าใช้จ่ายสูง ส่วนขั้นตอนการทำต้องง่ายๆวิธีการไม่ซับซ้อนซึ่งเด็กสามารถเรียนรู้เองได้ และครูต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้คิด ได้เรียนรู้ด้วยตนเองครูจะไม่บอกเด็กก่อนเพราะจะทำให้เด็กไม่ได้คิดไม่ใช้สมองในการทำงาน แต่ครูสามารถบอกเด็กได้ก็ต่อเมื่อเด็กสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองแล้วครูจึงเป็นส่วนที่สรุปความคิดความเข้าใจของเด็ก ซึ่งจะทำให้เด็กได้ใช้สมอง ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และเรียนรู้กระบวนการได้ดีด้วยตนเอง

 การประยุกต์ใช้
             จะนำเทคนิคต่างๆที่อาจารย์ได้สอนในวันนี้ เช่น จะนำเทคนิคการประดิษฐ์สื่อที่ใช้ในการเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ไปปรับใช้ในการประดิษฐ์อุปกรณ์สำหรับเด็กปฐมวัยในอนาคต  และจะประยุกต์ใช่ในการสอนให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ประเมินผล
 ตนเอง   ตั้งใจ ฟังอาจารย์อธิบายงานและสนใจสิ่งประดิษฐ์ที่อาจารย์มานำเสนอพร้อมทั้งตั้งใจ ประดิษฐ์ชิ้นงานด้วยตนเอง แต่หลังๆ อาจจะมีการคุยบ้างกับเพื่อน เพื่อปรึกษา การทำสิ่งประดิษฐ์ที่อาจารย์ได้ไห้ทำ
 เพื่อน    วันนี้เพื่อนมีดูมีความสนุกสนานและกระตือรือร้นในการทำผลงานของตนเองอย่าง ตั้งใจ และให้ความช่วยซึ่งกันและกันในการใช้อุปกรณ์ในการทำการประดิษฐ์ และร่วมกันทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ
 อาจารย์   อาจารย์ มีเทคนิคในการประดิษฐ์ผลงานทางวิทยาศาสตร์อย่างน่าสนใจ มีความสวยงาม นอกจากนี้อาจารย์ยังได้บอกเทคนิคการสร้างสรรค์ผลงานที่ดีว่าควรมีขั้นตอนที่ ง่ายๆไม่ซับซ้อน  เด็กสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และอาจารย์ได้มีการสรุปเนื้อหาที่เรียนให้เข้าใจง่ายขึ้นและน่าสนใจสามารถจำ ได้ง่ายไม่ซับซ้อน 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น